ขอบพระคุณอาจารย์ธนิตย์ แก้วนิยม
อาจารย์ช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ทุ่มเทแรงกายแรงใจ
สร้างผอบทองคำบรรจุพระธาตุ หลวงปู่ขาว อนาลโย
วัดถ้ำกองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู
** จะเชิญไปให้ทุกท่านร่วมอธิษฐานจิต
หลังจากปล่อยปลา วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคมนี้
บนพระตำหนักพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
วัดกู้ ปากเกร็ด เวลา 9.09 น
ก่อนน้อมถวายหลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตสสฺโก
วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู
เพื่อบรรจุพระธาตุหลวงปู่ขาว อนาลโย
วันที่ 24 พฤษภาคม 2565
โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นประธาน
สอบถาม มูลนิธิธรรมดี
Line https://bit.ly/2VaWeV1
☎️ 061-4496965
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
หลวงปู่ขาว อนาลโย สิริอายุ ๙๖ ปี ๖๔ พรรษา*
ผอบทองคำบริสุทธิ์ ขนาดความกว้าง ๙.๖ ซม*
ฐานล่างกว้าง ๖.๔ ซม*
ความสูง ๑๔.๒ ซม
น้ำหนักทองคำ ๙๖.๕% จำนวน ๑๗ บาท
*ศิลปกรรมความหมาย*
ผอบทองคำบรรจุพระธาตุ หลวงปู่ขาว อนาลโย เป็นผอบสลักดุนโลหะ (ทองคำ) ขนาดความกว้าง ๙.๖ เซนติเมตร ความสูง ๑๔.๒ เซนติเมตร
ฝาผอบมีลักษณะเป็นทรงฐานปัทม์ หรือฐานบัว ประกอบด้วย บัวคว่ำ-บัวหงาย คั่นกลางด้วยบัวลูกแก้ว กลับบัวมีลักษณะเป็นบัวเล็บช้าง มีความนิยมมาตั้งแต่สมัยเขมรโบราณ สมัยทรารวดี สมัยอยุธยา จนถึงปัจจุบัน การนำเอาดอกบัวเล็บช้างมาใช้ในการออกแบบ เพื่อให้สอดคล้องกับรูปช้างในส่วนบนของฝา การสลักดุนบัวเล็บช้างมีลักษณะเป็นการสลักดุนแบบนูนสูง ส่วนบนของฝาผอบเป็นรูปช้างหมอบกำลังชูงวงถือดอกบัว การสลักดุนเป็นลักษณะขึ้นรูปโลหะ (ทองคำ) ลอยตัว รูปทรงช้างเป็นศิลปกรรมไทยความหมายของช้างหมอบชูดอกบัว สื่อความหมายองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านเคยเกิดเป็นช้างในอดีตชาติของท่าน ลักษณะช้างที่กำลังชูงวงไว้เหนือศีรษะชูดอกบัว สื่อความหมายว่าองค์หลวงปู่ขาว อนาลโย บูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมศาสดาของพระพุทธศาสนา
ตัวผอบ สลักดุนโลหะ (ทองคำ) มีลวดลายประกอบด้วย ลายรักร้อย ลายเครือเถาธรรมชาติ ให้ความรู้สึกสอดคล้องมีความสัมพันธ์กับพระสายวัดป่าที่ท่านดำรงวิธีการปฎิบัติธรรมอยู่กับธรรมชาติเป็นหลัก และยังมีรูปดอกบัวบานอยู่ในพื้นที่วงรี จำนวน ๔ ดอก ทั้ง ๔ ด้าน ของตัวผอบ ความหมายของดอกบัวบานทั้ง ๔ ดอก ที่กำลังเบ่งบาน จากเริ่มบานไปจนถึงบานเต็มที่เสมือนว่าการปฎิบัติธรรม ของพระอริยะสงฆ์นั้น เพื่อผู้ปฎิบัติตัดซึ่งกิเลสทั้งปวงจนหมดสิ้น ท่านจะบรรลุธรรมชั้นสูงสุด สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ดั่งเช่น หลวงปู่ขาว อนาลโย ฐานผอบมีลักษณะเป็นฐานปัทม์ (ฐานบัว) บัวฐานปัทม์ นิยมใช้กับพระหรือพระพุทธศาสนา กลีบบัวที่ใช้ในบัวฐานปัทม์ ใช้บัวเล็บช้างทั้งหมดทุกชั้น เพื่อให้มีความสัมพันธ์กับรูปช้างเป็นรูปแบบการประยุกต์ลวดลายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของผอบใบนี้ มีความประณีตงดงามทรงคุณค่า
ผลงานการออกแบบโดย
อาจารย์ธนิตย์ แก้วนิยม
อาจารย์ช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
น้อมถวายโดยมูลนิธิธรรมดี
ประทีปแห่งความดีเพื่อชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ และเพื่อนมนุษย์
๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๕