#ประวัติความเป็นมาของการทอดกฐิน ในสมัยพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เห็นภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูป ที่เดินทางมาเข้าเฝ้าพระองค์หลังออกพรรษาแล้ว ณ เชตุวันวนาราม กรุงสาวัตถี ล้วนครองจีวรที่เก่าและขาด
จึงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุทั้งหลายรับผ้ากฐินได้ในช่วงหลังจากออกพรรษาไปแล้วหนึ่งเดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี ตั้งแต่นั้นมาตราบจนทุกวันนี้การทอดกฐิน เป็นการทำบุญที่แปลกกว่าการทำบุญอื่น เนื่องจาก
1. การทอดกฐินจำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานอย่างเดียวเท่านั้น คือ จะเจาะจงถวายพระรูปใดรูปหนึ่งไม่ได้ กฐินจึงเป็นของกลางในหมู่สงฆ์ซึ่งจะมีมติสงฆ์ให้พระที่อยู่พรรษาครบ 3 เดือน และเป็นผู้ที่ฉลาดในพระธรรมวินัย ประพฤติปฏิบัติดีและมีความเพียรอย่างต่อเนื่อง เป็นผู้ครองผ้ากฐิน
2. การทอดกฐินจำกัดเวลา คือ ต้องถวายในเวลา 1 เดือน ตั้งแต่ออกพรรษา
3. การทอดกฐินจำกัดงาน คือ พระที่รับต้องตัดเย็บและครองให้เสร็จภายในวันนั้น
4. การทอดกฐินจำกัดของถวาย คือ หมายถึงองค์กฐิน คือผ้าที่จะตัดเย็บเป็นจีวรหรือวัสดุในการผลิตเป็นผ้า ส่วนสิ่งอื่นนอกจากนี้เรียกว่า บริวารกฐิน
5. การทอดกฐินจำกัดผู้รับ คือ ผู้รับจะต้องเป็นพระที่จำพรรษาวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษาและวัดนั้นจะต้องมีภิกษุไม่น้อยกว่า 5 รูป และต้องรับกฐินโดยพร้อมเพรียงกัน
6. การทอดกฐินจำกัดคราว คือ วัดหนึ่งจะรับกฐินได้ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
เชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพที่บัญชีมูลนิธิธรรมดี เพื่อทอดผ้าป่าและกฐินทั่วประเทศ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเพลินจิต
เลขที่ 059-284905-9
ผู้ที่ต้องการใบอนุโมทนาบัตร กรุณาส่งชื่อที่อยู่
พร้อมสลิปใบโอนเงิน ได้ที่ (LINE messenger) @dfoundation
สนใจร่วมเดินทาง
สำรองที่นั่งได้ และสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
หรือโทร. 02-651-9599
099-625-5289
098-268-6813
092-956-1145
หรือ แอดไลน์ (LINE messenger) @dmgbooks